Search

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การขอเงินคืนโครงการรถยนต์คันแรก

โค้งสุดท้ายกับโครงการรถยนต์คันแรก

การยื่นเอกสารขอใช้สิทธิ์รถยนต์คันแรก

  1. การยื่นเอกสารเพื่อขอใช้สิทธิ์และการขอรับสิทธิ์รถยนต์คันแรก ต้องดำเนินการด้วยตนเอง หรือไม่ก็มอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนได้

  2. เมื่อเอกสารครบสามารถยื่นเอกสารเพื่อขอใช้สิทธิ์ได้ที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่/พื้นที่สาขา ทั่วประเทศ

  3. กรมสรรพสามิตจะเริ่มดำเนินการก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคำขอใช้สิทธิ์รถยนต์คันแรกมีเอกสารครบถ้วนตามที่ได้มีการกำหนดไว้แล้วเท่านั้น ดังนั้นควรรวบรวมเอกสารให้ครบแล้วไปยื่นดำเนินการขอรับสิทธิ์

  4. หากยังได้รับเอกสารไม่ครบถ้วนก่อนวันสิ้นสุดโครงการฯ ไม่สามารถยื่นเอกสารได้ทันตามกำหนดเวลาก็จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในโครงการฯ นี้ได้

  5. หากรับมอบรถยนต์แล้ว ไม่นำเอกสารมาส่งเพิ่มเติมภายใน 90 วัน นับถัดจากวันรับมอบรถยนต์ จะถือว่าหมดสิทธิ์ในโครงการรถยนต์คันแรก และจะเรียกร้องสิทธิ์ฯ และค่าเสียหายใด ๆ กับทางราชการไม่ได้

  6. การยื่นเอกสารเพื่อขอใช้สิทธิ์นั้น ต้องทำภายในวันที่ 16 ก.ย. 2554 - 31 ธ.ค. 2555 แต่เอกสารหลักฐานต้องครบถ้วนตามแบบคำขอฯ และไม่จำเป็นต้องรอให้ครอบครองรถไปแล้วมากกว่า 1 ปี


เอกสารที่ต้องใช้ยื่นขอใช้สิทธิ์รถยนต์คันแรก

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนของผู้ซื้อรถ(ผู้ใช้สิทธิ์รถคันแรก)

  2. หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี ดาวน์โหลดหนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนรถยนต์คันแรก
    • ความหมายของผู้ให้เช่าซื้อ/ผู้ขาย ในหนังสือสละสิทธิ์การโอนฯ คือผู้ที่มีอำนาจลงนามแบ่งเป็นกรณีเช่าซื้อและซื้อเงินสด
      1. กรณีเช่าซื้อ ผู้ลงนามคือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทให้สามารถลงนามผูกพันแทนบริษัทได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นผู้กำหนด
      2. กรณีซื้อเงินสด ผู้ขาย(โชว์รูม) ไม่ต้องลงนามแต่อย่างใด เพราะกรรมสิทธิ์ได้ตกไปสู่ผู้ซื้อแล้ว
    • กรณีปิดไฟแนนซ์ก่อนยื่นคำขอใช้สิทธิ์ เช่น วันที่ 1 พ.ย. 54 ซื้อรถยนต์โดยวิธีเช่าซื้อ วันที่ 1 ก.พ. 55 นำเงินไปปิดกับผู้ให้เช่าซื้อ (Finance) และโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้เช่าซื้อ ยื่นคำขอใช้สิทธิ์ วันที่ 1 มี.ค. 55 หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนไม่จำเป็นต้องให้ผู้ให้เช่าซื้อเซ็นต์เนื่องจากกรรมสิทธิ์ได้ตกเป็นของผู้เช่าซื้อแล้ว แต่ผู้เช่าซื้อต้องถือครองรถยนต์ต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี
    Pickup

  3. หลักฐานการซื้อขาย หมายถึงเอกสารหลักฐานที่แสดงว่ามีการซื้อขายรถยนต์ เช่น
    • สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าเงินดาวน์ หรือสำเนาใบเสร็จรับเงินชั่วคราว
    • สำเนาใบกำกับสินค้า/ใบกำกับภาษี
    • สำเนาใบเสร็จรับเงินค่างวดงวดแรก หรือสำเนาใบรับเงิน

  4. กรณีเช่าซื้อ
    • ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าเงินดาวน์มาแสดงเป็นหลักฐานได้
    • สำเนาใบเสร็จรับเงินค่างวดงวดแรกเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการยื่นเอกสารแทน
    เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหลักฐาน เช่น ชื่อ-นามสกุลของผู้ขอใช้สิทธิ์, ชื่อบริษัทผู้ให้เช่าซื้อ, และเลขที่สัญญาเช่าซื้อให้ตรงกับหลักฐานที่ปรากฎตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ขอใช้สิทธิ์ได้ยื่นมาพร้อมกัน (รายละเอียดของรถยนต์ปกติจะอยู่ในสำเนาสัญญาเช่าซื้อ)

  5. เอกสารใบเสร็จรับเงิน/สัญญาซื้อขาย/สัญญาเช่าซื้อ ให้ใช้เป็นตัวสำเนาไม่จำเป็นต้องใช้ตัวจริงและผู้ซื้อรับรองสำเนาถูกต้อง

  6. หากเอกสารหลักฐานการซื้อขายรถยนต์ ไม่ครบถ้วน (ใบเสร็จรับเงิน/ใบจอง/สัญญาซื้อขาย/เอกสารการรับมอบรถยนต์) จัดการได้ 2 กรณี
    • ซื้อเงินสด-ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินหรือสำเนาซื้อขายและสำเนาเอกสารการรับมอบรถยนต์
    • กรณีเช่าซื้อ-ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินและสำเนาเอกสารการรับมอบรถยนต์

ผู้ที่มีสิทธิ์ซื้อรถในโครงการรถยนต์คันแรก

    People over 21 years old can get right of the first car project
  1. ผู้ซื้อต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป นับจากวันที่เริ่มจองรถ ตามเงื่อนไขการขอใช้สิทธิ์ซึ่งการซื้อนั้นเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ทำสัญญาว่าจะซื้อหรือการจองรถ ดังนั้นหากผู้ยื่นคำขอมีอายุไม่ถึง 21 ปี นับตั้งแต่วันเริ่มจองรถก็จะไม่ได้รับสิทธิ์ในโครงการนี้

  2. ผู้ซื้อที่อายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากไม่ขัดกับเงื่อนไขที่ได้มีการกำหนด

  3. ผู้ที่ไม่ได้เสียภาษีบุคคลธรรมดามีสิทธิ์ในโครงการรถยนต์คันแรกเช่นเกัน เนื่องจากเงื่อนไขในแบบคำขอใช้สิทธิ์ไม่ได้กำหนดไว้

  4. ชาวต่างชาติที่ไม่มีบัตรประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เพราะการเข้าร่วมโครงการฯ ได้หรือไม่นั้นต้องใช้เอกสารบัตรประชาชนเป็นหลักฐานในการอ้างอิงด้วย

  5. ผู้สนใจเข้าโครงการรถยนต์คันแรกสามารถตรวจสอบสิทธิ์ โดยการสอบถามไปยังกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลการครอบครองรถยนต์

  6. หากผู้ซื้อเป็นกรรมการบริษัท/สหกรณ์จะยังคงสามารถใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯได้ หากว่าผู้ขอใช้สิทธิ์ฯโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่เคยครอบครองรถยนต์มาก่อน

  7. สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสหากคนใดคนหนึ่งเคยครอบครองรถมาแล้ว ในกรณีนี้ถ้าผู้ซื้อและขอใช้สิทธิ์ฯยังไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถยนต์กับทางกรมการขนส่งทางบกก็สามารถใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้ได้ เนื่องจากการใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล และวัตถุประสงค์หลักของโครงการตามนโยบายของรัฐบาล คือการช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ไม่เคยครอบครองรถมาก่อน

  8. การทำสัญญากู้ร่วมสามารถทำได้ แต่หากผู้กู้ร่วมเคยมีชื่อครอบครองรถมาก่อนแล้ว การกู้ร่วมไม่สามารถทำได้เนื่องจากการกู้ร่วมนั้นจะถือว่าบุคคลที่มีชื่ออยู่ในสัญญาเป็นผู้ครอบครองรถด้วย แต่ในกรณีการค้ำประกันนั้นสามารถทำได้แม้ผู้ค้ำประกันจะเคยครอบครองรถมาก่อนก็ตาม

  9. บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ เนื่องจากเงื่อนไขกำหนดเฉพาะบุคคลที่มีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเท่านั้น

  10. เคยครอบครองรถก่อนปี 2549 ไม่มีสิทธิ์ เข้าร่วมโครงการฯ เนื่องจากรถที่เข้าร่วมโครงการต้องเป็นรถคันแรกของผู้ซื้อเท่านั้น

  11. โครงการนี้เป็นการจ่ายเงินตามสิทธิ์โดยถือจำนวนตามค่าภาษีสรรพสามิตตามที่จ่ายจริงสำหรับรถยนต์ใหม่คันแรกเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากซื้อรถมือสองก็จะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้

  12. โชว์รูมขายรถยนต์ใหม่ให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ (Finance) ต่อมาบริษัทผู้ให้เช่าซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าวต่อให้แก่ผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกเนื่องจากรถยนต์คันดังกล่าวที่ซื้อจากบริษัทผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือว่าเป็นรถยนต์ใหม่คันแรก

  13. โครงการนี้ไม่มีการกำหนดจำนวนของรถที่จะเข้าโครงการฯ แต่มีการกำหนดระยะเวลาคือตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2554 – 31 ธ.ค. 2555

  14. ผู้ที่ใช้สิทธิ์ในโครงการรถยนต์คันแรกแล้ว จะยังคงมีสิทธิ์ในโครงการบ้านหลังแรก เพราะโครงการทั้งสองเป็นโครงการที่แยกจากกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือให้โอกาสแก่ประชาชน ดังนั้น หากแม้เข้าร่วมในโครงการใดโครงการหนึ่งก็ยังสามารถเข้าร่วมอีกโครงการหนึ่งได้

  15. ข้อมูลสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ที่ต้องการเข้าร่วมในโครงการรถยนต์คันแรกสามารถตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขในการขอใช้สิทธิ์วิธีการดำเนินการ ยี่ห้อ/รุ่นรถยนต์ และจำนวนเงินที่ได้รับได้ผ่านทางเวปไซต์ของกรมสรรพาสามิตในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรก http://www.excise.go.th

เรื่องอื่นๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับรถยนต์คันแรก

City Car
  1. เกณฑ์รถยนต์คันแรก คือ รถยนต์นั่งกระบอกสูบไม่เกิน 1500 CC หรือ รถกระบะ Pickup / กระบะสี่ประตู Double Cab (รถกระบะไม่จำกัด CC)

  2. เงื่อนไขการขอใช้สิทธิ์รถยนต์คันแรก ต้องเป็นรถยนต์ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท/คัน จากราคาขายปลีกไม่รวมดอกเบี้ยที่เกิดจากการเช่าซื้อ

  3. รถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการได้ต้องเป็นรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้น ดังนั้นรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้ารุ่นที่ได้รับการช่วยเหลือด้านภาษีนำเข้าเพื่อทดแทนรถยนต์น้ำท่วม ตามมติคณะรัฐมนตรี ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรถยนต์คันแรกได้

  4. กรณีของรถยนต์น้ำท่วมที่เป็นการเช่าซื้อและยังผ่อนชำระยังไม่ครบ/ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ สามารถลงทะเบียนและขอใช้สิทธิ์ซื้อรถยนต์ใหม่ได้ แต่แจ้งหยุดใช้รถยนต์ตลอดไปเนื่องจากถูกน้ำท่วมที่กรมการขนส่งทางบกหรือขนส่งจังหวัด และผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง (Finance) ต้องเป็นผู้แจ้ง

  5. สำหรับเงื่อนไขโครงการนี้ คือผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี เว้นแต่กรณีเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนด ไม่ได้หมายถึงต้องผ่อนชำระกับทางผู้ให้เช่าซื้อเป็นเวลา 5 ปี จะสามารถผ่อนชำระนาน/สั้นกว่า 5 ปีได้ เพราะการผ่อนชำระเป็นสิทธิ์ตามแต่ที่ได้มีการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อ

  6. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ก่อนครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรการรถยนต์คันแรก และมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยรถยนต์น้ำท่วม ข้อ 1.8 หมายถึงการเปลี่ยนแปลงบริษัทที่เช่าซื้อ (Refinance)

  7. กรณีซื้อรถยนต์เป็นเงินสด ต่อมานำรถคันดังกล่าวไปทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัทไฟแนนซ์ สิทธิ์ในโครงการรถยนต์คันแรกไม่สูญเสียไป หากการทำสัญญาเช่าซื้อนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองรถยนต์

  8. โครงการนี้เป็นการจ่ายเงินตามสิทธิ์โดยถือจำนวนตามค่าภาษีสรรพสามิตตามที่จ่ายจริง ซึ่งรถแต่ละชนิดเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราที่ต่างกัน และแต่ละรุ่นมีการยื่นแบบชำระภาษีเป็นจำนวนเงินไม่เท่ากัน และนั่นก็เป็นเหตุให้รถแต่ละชนิดได้รับเงินจากการใช้สิทธิ์ไม่เท่ากัน

  9. หากต้องการขอยกเลิกการใช้สิทธิ์ต้องทำเป็นหนังสือขอยกเลิกอย่างเป็นทางการ
Credit: ข้อมูลการตอบคำถามจากเวปไซต์ของกรมสรรพาสามิตในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรก เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ศูนย์ประสานงานการขอใช้สิทธิ์ฯและสำนักงานสรรพสามิตทั่วประเทศ https://firstcar.excise.go.th สายด่วน 1713 หรือ 0-2241-5600-19 ต่อ 54001-54005 วันจันทร์ - ศุกร์ ในเวลาราชการ

การใช้ Hlookup หลายเงื่อนไขแทนฟังก์ชัน IF

Hlookup ทำงานกับหลายๆเงื่อนไข


การทำงานของ Hlookup กับ Vlookup เหมือนกัน แทบทุกอย่างแตกต่างที่วิธีใช้งานที่ค้นหาข้อมูล

Hlookup คือค้นหาแบบแนวนอน (Horizontal)

กับ Vlookup เป็นการค้นหาจากแนวตั้งหรือคอลัมท์ (Vertical) ซึ่งทั้งสองฟังก์ชันต่างก็เลือกคำตอบได้ 2 แบบ คือคำตอบที่ตรงกันพอดี (exact) และ คำตอบโดยประมาณ (omitted)
ข้อแตกต่างของ Hlookup กับ Vlookupหลักๆ ในฟังก์ชัน คือ row กับ column

  • HLOOKUP(lookup_value,table_array,row_index_num,range_lookup)

  • VLOOKUP(lookup_value,table_array,col_index_num,range_lookup)

Target Sales Table for using Hlookup

ตัวกำหนดให้ฟังก์ชัน Hlookup หรือ Vlookup คืนค่าผลลัพท์คือ Range_lookup ซึ่งแบ่งออกตามนี้
  • ถ้า range_lookup เป็น TRUE หรือไม่ใส่ค่าอะไรไว้ ฟังก์ชัน Hlookup จะคืนค่าที่ตรงกัน หรือถ้าไม่พบก็จะคืนค่าถัดไปที่มากที่สุด แต่น้อยกว่า Lookup_value
  • ถ้า range_lookup เป็น False, ฟังก์ชัน Hlookup จะคืนค่าที่ตรงกันเท่านั้น

RowColumn(ตารางที่ 1)
ABCD E F G
1 เป้าขั้นบันได1
7
31
101
301
501
2
อัตราค่าคอม.
4.0%4.5%5.0%6.0%7.0%8.5%

ตารางที่ 1- เป็นอัตราเป้าขายแบบก้าวหน้าหรือแบบขั้นบันได เพื่อจะใช้ฟังก์ชั่น Hlookup ทดสอบจึงจัดไว้เป็นตารางแนวนอน รายละเอียดต่างๆ มีดังนี้
  • B1 ถึง G1 เป็นเป้าขายอัตราก้าวหน้า (ตย. Rate เริ่มตั้งแต่ 1 หน่วยและสูงสุด 6 หน่วย, Rate 2 เริ่มตั้งแต่ 7 หน่วย และ ถัดไปเริ่มต้นที่ 31 หน่วย เป็นต้น)
  • B2 ถึง G2 เป็นอัตราค่าคอมมิชชั่น (ตย. ยอดขายที่ 20 จะได้ 4.5% เพราะอยู่ในช่วง 7-30)
  • ดังนั้น table_array คือ B1:G2 และหา Com.Rate ของ Saleman โดยคิดจากยอดขาย

  • ตารางที่ 2- Column C เป็นผลลัพท์ของการใช้ฟังก์ชั่น Hlookup แบบหลายเงื่อนไข
  • Column D แสดงการใช้ฟังก์ชั่น Hlookup คอลัมท์ D
RowColumn(ตารางที่ 2) 
ABCD
4 SalesmanยอดขายCom.RateFormula
5 Adrian5119%=HLOOKUP($5,$B$1:$G$2,2)
6 Allan1206%=HLOOKUP($6,$B$1:$G$2,2)
7 Benny905%=HLOOKUP($7,$B$1:$G$2,2)
8 Calvin64%=HLOOKUP($8,$B$1:$G$2,2)
9 Tanaka2126%=HLOOKUP($9,$B$1:$G$2,2)
10 Tom385%=HLOOKUP($10,$B$1:$G$2,2)
11 Yuta3027%=HLOOKUP($11,$B$1:$G$2,2)

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การใช้ IF กับ INT หาเงินทอนแบบแยกแบงค์แยกเหรียญ

การใช้ฟังก์ชัน IF กับ INT คำนวณเงินทอนหรือแลกเงินด้วยจำนวนธนบัตรและเหรียญเท่าที่จำเป็น





เรื่องใกล้ตัวที่บางครั้งก็ลืม อย่างการทอนเงินลูกค้า ซึ่งปัญหาที่แคชเชียร์มักเจอกันบ่อยๆ คือ ทอนเงินเกิน,ทอนผิด เพราะวันๆ ก็จับแต่เงินคนอื่น แต่พอหายขึ้นมากลับกลายเป็นเงินของเราเองซะงั้น
จากตัวอย่างรูป Figure A เป็นการ
หาเงินทอนแยกแบงค์แยกเหรียญ ด้วยโจทย์ดังนี้
  • ยอดรับเงิน 2,000 (เซลล์ C2)
  • หักค่าสินค้า 1,067.50 (เซลล์ D2)
  • เหลือเงินที่ต้องทอนให้ลูกค้า 932.75 (เซลล์ E2)

Figure A-calculate give change at least coins and bills needed
Figure A
จุดประสงค์ของการคำนวณเงินทอนก็เพื่อใช้คัดแยกเหรียญและธนบัตรให้เหลือจำนวนที่น้อยที่สุดในการทอนเงินแต่ละครั้ง ดังนั้นสูตรที่ใช้จึงเกี่ยวพันกันทุกประเภทเหรียญ/ธนบัตร และเนื่องจากหน่วยเงิน 1000 บาท เป็นรายการสุดท้ายของตาราง ดังนั้นสูตรชุดนี้จึงเหมือนกับรันย้อนขึ้นจากด้านล่าง

ฟังก์ชันที่ใช้กับตารางนี้มี 2 ฟังก์ชัน
  1. ฟังก์ชัน IF กำหนดเงื่อนไข
  2. ฟังก์ชัน INT ปัดเศษทศนิยมออก ไวยากรณ์ INT คือ INT(number)
Logic การใช้ IF ของสูตรชุดนี้ คือ ถ้าเงินที่ต้องทอนหักหน่วยเงินแล้วมากกว่า, เป็นจริง-ใช้ INT ปัดเศษผลลัพท์ จากเงินทอนรวม หักหน่วยเงินที่ใหญ่กว่า แล้วจึงคูณหน่วยเงิน ,ไม่จริง-เป็นศูนย์

RowColumn
B
C
D
E
F
1
รับเงิน
ค่าสินค้า
เงินทอน
2
2,000.00
1,067.25
932.75
    ส่วนต่างๆ ของตารางแสดงสูตร โดยตำแหน่งคอลัมท์และแถวที่ใช้ (กำหนดจาก FigureA)
  1. หน่วยเงิน (column C)แยกประเภทของเหรียญและธนบัตร เช่น เหรียญ 25 สตางค์, เหรียญ 5 บาท, ธนบัตรใบละ 50 บาท, ธนบัตรใบละ 100 บาท เป็นต้น
  2. สูตรในคอลัมท์เงินทอน แสดงการใช้ฟังก์ชัน ของ column E
  3. เงินทอน/บาท(column E) แสดงผลลัพท์ที่คำนวณได้
B C E F
3 หน่วยเงิน สูตรในคอลัมท์เงินทอน เงินทอน/
บาท
จำนวน
4 สต. 0.25 =IF($E$2-$E5>$C4,INT(($E$2-SUM($E5:$E$14))/C4)*$C4,0) 0.25 1
5 สต. 0.50 =IF($E$2-$E6>$C5,INT(($E$2-SUM($E6:$E$14))/C5)*$C5,0) 0.50 1
6 บาท 1 =IF($E$2-$E7>$C6,INT(($E$2-SUM($E7:$E$13))/C6)*$C6,0) 0
7 บาท 2 =IF($E$2-$E8>$C7,INT(($E$2-SUM($E7:$E$14))/C7*$C7,0) 2 1
8 บาท 5 =IF($E$2-$E9>$C8,INT(($E$2-SUM($E9:$E$14))/C8)*$C8,0) 0
9 บาท 10 =IF($E$2-$E10>$C9,INT(($E$2-SUM($E10:$E$14))/C9)*$C9,0) 10 1
10 บาท 20 =IF($E$2-$E11>$C10,INT(($E$2-SUM($E11:$E$14))/C10)*$C10,0) 20 1
11 บาท 50 =IF($E$2-$E12>$C11,INT(($E$2-SUM($E12:$E$14))/C11)*$C11,0) 0
12 บาท 100 =IF($E$2-$E13>$C12,INT(($E$2-SUM($E13:$E$14))/C12)*$C12,0) 400 4
13 บาท 500 =IF($E$2-$E14>$C13,INT(($E$2-SUM($E14:$E$14))/C13)*$C13,0) 500 1
14 บาท 1000 =IF($E$2>$C14,INT($E$2/$C14)*$C14,0) 0
15 รวมเงินทอน 932.75 10
จากภาพ Figure A และตารางตัวอย่าง
column F เป็นผลคำนวณหาจำนวนเหรียญ/ธนบัตร ที่ต้องทอนให้กับลูกค้า ในขณะที่ column E เป็นการคำนวณหาเงินทอนตามมูลค่าของเหรียญ/ธนบัตร ความแตกต่างของสองคอลัมท์นี้ มีเพียงแค่ตัวคูณของหน่วยเงินเท่านั้น คือ ตัวคูณมูลค่าของเหรียญหรือ ธนบัตร (ในที่นี้คือ คอลัมท์ C)
หมายเหตุ
  • ในเซลล์ E4 : =IF(E2-E5>C4,INT((E2-SUM(E5:E14))/C4)*C4,0)
  • ในเซลล์ F4 : =IF(E2-E5>C4,INT((E2-SUM(E5:E14))/C4),0)
  • ในคอลัมท์ C ที่เป็นค่าของเหรียญหรือธนบัตร หากใช้ custom format cells เราสามารถใส่หน่วย "สต." หรือ "บาท" ได้พร้อมทั้งแทนค่าในสูตรด้วยได้เลย โดยไม่ต้องแยกหน่วยที่คอลัมท์ B
  • ตารางที่แสดงด้านล่างได้เพิ่มหน่วยเงิน 2 บาทเข้าไป

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หาค่าที่ไม่ซ้ำใน Excel ด้วย Advanced Filter,Data Validation และ Conditional Formatting


Filter เฉพาะแถวที่ทำสีด้วย Advanced Filter
กับคุณสมบัติของ Conditional Formatting กับ Data Validation

มาทำความรู้จักศักยภาพของ conditional formatting และ Data validation-drop down list ด้วยความช่วยเหลือเล็กน้อยจาก Advanced Filter ที่ทำให้เราสามารถสร้างตารางข้อมูลแบบไดนามิกไฮไลท์

ตารางที่ใช้เป็นตัวอย่างเก็บรายการสินค้าในสต็อค ซึ่งแต่ละหมวด (category) มีสินค้าหลายอย่าง และต้องการค้นหาว่าแต่ละหมวดมีสินค้ากี่รายการ โดยใช้การไฮไลท์แถวที่เลือกจาก drop down list

เช่น เมื่อเลือก "Fruit" จาก category list (A2)  จะเกิดไฮไลท์แถวสีชมพูในตารางข้อมูล Product (A4:F22) ที่มีค่าเป็น Fruit category เหมือนกัน ตามรูป

Choose the highlighted category from validation list
Figure 1

วิธีสร้าง Dynamic Table ที่จะไฮไลท์ข้อมูลที่ถูกเลือกจาก Drop down list
  1. เปิดไฟล์งานวางเคอร์เซอร์ไว้ที่ไหนก็ได้แล้วเลือกคำสั่ง Data >Advanced Filter ก่อนอื่นเลยคือต้องกรอง category ให้เป็น unique list (ข้อมูลที่ไม่ซ้ำ) ซะก่อน 
  2. ใต้ Action เลือกหัวข้อ Copy to another location 
  3. ที่ List range : ใส่ $B$4:$B$22 (คอลัมท์ category)
  4. ที่ Copy to: ใส่ $I$4 (ที่จริงจะแปะไว้ที่ไหนก็ได้บน worksheet แต่ที่เลือก I4 เพื่อให้เห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องกำหนดพื้นที่เซลล์ที่จะวางเลย ข้อมูลที่ Filter แล้วจะ paste ลงมาเท่าที่มีโดยเริ่ม paste ที่เซลล์ I4)
  5. แล้วติ๊กเลือกฟีเจอร์ Unique records only ซึ่ง category ที่กรองแล้วจะดึงเฉพาะค่าที่ไม่ซ้ำเท่านั้นUsing Advanced Filter copy unique category list to cell I4
  6. จากนั้นทำ Data validation drop down list ที่เซลล์ A2 โดยที่ Source: ใส่ช่วงเซลล์ unique category list (I5:I15) หรือคอลัมท์ที่ทำการกรองแล้ว

  7. create category data validation list

  8. กำหนดรูปแบบด้วย Conditional Formatting โดยเลือก Rule Type เป็น Use a Formula to determine which cells to format ตามรูป
  9. ที่ Format values where this formula is true: ใส่ =$B5=$A$2 (หมายถึงถ้าค่าในคอลัมท์ B เท่ากับ Category (A2) ให้เปลี่ยนเป็น Format ที่เลือก ซึ่งในตัวอย่างนี้ใช้สีชมพู

    Set format to fill pink background if category in B-column are equal to A2
ข้อสังเกตุ
  • ถ้าก่อนที่จะกำหนด Rule Type ในข้อ 7 และ 8 คุณเลือกคลุมพื้นที่เซลล์ทั้งหมดตามรูป ไฮไลท์จะแสดงทุกคอลัมท์ในแถว (ตามรูป Figure 1)
  • แต่ถ้าเลือกคลุมเพียงบางคอลัมท์ สีไฮไลท์จะแสดงเฉพาะคอลัมท์ที่เลือกเท่านั้น