จากหนังสือของ Raghunathan ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นว่าคนอินเดีย เป็นนักคิดแก้ปัญหาเก่ง และยังส่งต่อแนวคิดดีดีให้คนรุ่นใหม่ๆ
เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ใช้ความเจ้าเล่ห์แต่เป็นวิธีคิด หาทางออก ที่เราคิดไม่ถึง ซึ่งนิทานเรื่องมันมีอยู่ว่า..ดช.ปัญญาเป็นเด็กที่เกิดในตัวเมืองแล้วย้ายไปอยู่ในชนบท วันหนึ่งไปซื้อแพะจากชาวนาในราคา 1,000 รูปี ชาวนาก็ตกลงจะส่งมอบแพะในวันรุ่งขึ้น แต่พอถึงเวลา ชาวนาก็ไปหา ดช.ปัญญาแล้วกลับบอกว่า
ชาวนา | "หนูฉันมีข่าวร้าย แพะตายไปเมื่อคืนที่แล้ว" |
ปัญญา | "ไม่เป็นไร คืนเงินให้ผมก็แล้วกัน" |
ชาวนา | "เสียใจด้วยจริงๆ ฉันใช้เงินหมดไปแล้ว" ชาวนาพูดด้วยสีหน้าเศร้าๆ |
ปัญญา | "ไม่เป็นไร ถ้างั้นเอาแพะตัวนั้นมาให้ฉันละกัน" |
ชาวนา | "หนูจะเอาแพะตายไปทำอะไร" ชาวนาถามด้วยความฉงน" |
ปัญญา | "ฉันจะเอาไปจับฉลากขาย" |
ชาวนา | "จับฉลาก แพะที่ตายแล้ว ใครจะซื้อ" |
ปัญญา | "ได้ซิ คอยดูละกัน" |
- ชาวนาก็มอบแพะที่ตายให้ ดช.ปัญญาไป หลังจากผ่านไปหนึ่งเดือน.....ชาวนาได้พบกับดช.ปัญญา จึงถามว่า
ชาวนา | "ตกลงเอาแพะที่ตายไปทำอะไร" |
ปัญญา | "ฉันก็ทำฉลาก 500 ใบ ขายใบละ 10 รูปี แล้วบอกว่าใครดวงดีจับฉลากได้ก็ได้แพะไปเลย 1 ตัว ขายฉลากได้เงินมา 5000 บาท หักจ่ายทั้งหมดเหลือ 3990 บาท" |
ชาวนา | "แล้วไม่มีคนโวยวายหรือ ก็แพะตายแล้ว" ชาวนาถามด้วยความสงสัย |
ปัญญา | "ก็มีคนเดียว คือคนที่จับฉลากได้ และฉันก็แค่คืนเงินค่าฉลากจำนวน 10 บาทให้คนๆนั้นไป" |
- ในเรื่องบอกว่าต่อมา ดช.ปัญญา เติบโตและเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมาก....
- เรื่องราวแบบนี้ที่คนอินเดียสอนกัน เพราะสิ่งสำคัญคือการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่ ต้องเผชิญหน้าหรือคิดคำตอบโจทย์ที่ยากๆ การถ่ายทอดความรู้แบบนี้ผ่านทางการ์ตูนพื้นบ้านซึ่งขายในราคาถูกมาก ทำให้เด็กไม่ว่าจะอยู่ในรัฐที่ห่างไกลหรือยากจนก็สามารถเรียนรู้วิธีคิดผ่านสื่อเหล่านี้ได้
You might also like:
------------------- เทียนไข 2 เล่ม |
------------------- เด็กน้อยร่มสีแดง |