CHOOSE Function
หมายถึงการใช้ 1 สิทธิในการเลือก 254 ตัวเลือก
ลองเทียบกับการเลือกตั้งที่เรามีหนึ่งสิทธิใช้เลือกผู้แทนหนึ่งคนจากผู้สมัครทั้งหมด
เลือกเบอร์ไหน ก็ได้เบอร์นั้น
ตัวเลือกมีเท่าไรเลือกได้เท่านั้น ถ้าไม่เลือกแน่นอนว่าใบลงคะแนนบัตรนั้นเสียแต่ CHOOSE กำหนดตัวเลือก หรือ index_num ไว้สูงสุดแค่ 254 ตัวเลือกเท่านั้น ไวยากรณ์กับการใช้งาน
CHOOSE(index_num,value1,value2,...)
- index_num คือ เป็นค่าใดๆ ที่ใช้ระบุตัวเลือก, index_num ต้องเป็นตัวเลข, สูตร หรือ อ้างอิงถึงเซลส์ที่มีค่าระหว่าง 1 และ 254 (เทียบเป็น บัตรลงคะแนน ละกัน)
- value1,value2,... คือ ค่าอาร์กิวเมนต์ที่มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 254 ซึ่งฟังก์ชัน CHOOSE เลือกสรรตาม index_num กำหนดไว้สามารถเป็นได้ทั้งตัวเลข การอ้างอิงเซลล์
ชื่อที่ถูกกำหนด สูตร ฟังก์ชัน หรือข้อความ (นี่ก็เป็นผู้สมัครทั้งหมด)
- ข้อกำหนดฟังก์ชัน
- ถ้า index_num เป็น 1 ฟังก์ชัน CHOOSE จะส่งกลับค่า value1, ถ้าเป็น 2 ฟังก์ชันก็จะส่งกลับค่า value 2
- ถ้า index_num น้อยกว่า 1 หรือมากกว่าตัวเลขของ value สุดท้ายในรายการ ฟังก์ชัน CHOOSE จะส่งกลับค่าความผิดพลาด #VALUE!
- ถ้า index_num เป็นเศษส่วน จะตัดเศษเป็นเลขจำนวนเต็มที่น้อยที่สุดก่อนจะนำมาใช้
ตัวอย่างการใช้งานจากสูตร CHOOSE(index_num,value1,value2,...)
Row | Column | ||
---|---|---|---|
A | B | C | |
1 | กำหนดให้ value1- value3 เป็น ตัวเลือกเพื่อทดสอบฟังก์ชัน CHOOSE | ||
2 | value1 | value2 | value3 |
3 | โจโฉ | เล่าปี่ | ซุนกวน |
4 | |||
5 | A6-A8 แสดงการแทนค่าในฟังก์ชัน CHOOSE (Index_num,value1,value2,value3) | คำตอบ | |
6 | =CHOOSE(1,A3,B3,C3) | โจโฉ | |
7 | =CHOOSE(3,A3,B3,C3) | ซุนกวน | |
8 | =CHOOSE(2,A3,B3,C3) | เล่าปี่ | |
- ตัวเลข 1,2,3 หลัง CHOOSE = อาร์กิวเมนต์ index_num
- A3(โจโฉ), B3(เล่าปี่), C3(ซุนกวน) = อาร์กิวเมนต์ value1,value2, value3
- สูตรเซลล์ A6 = คำตอบ C6
- สูตรเซลล์ A7 = คำตอบ C7
- สูตรเซลล์ A8 = คำตอบ C8
ทั้ง index_num และ value ใน CHOOSE เป็นอาร์กิวเมนต์ที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนกลายร่างได้หลายรูปแบบ นั่นทำให้เรานำมาใช้ร่วมกับฟังก์ชันอื่นๆ อย่างเช่น Sum
การใช้ SUM+CHOOSE ทำให้หาคำตอบผลรวมโดยไม่ต้องตั้งสูตร SUM ทุกๆ คอลัมน์ ซึ่งหากใช้การ Define Name เพิ่มจะทำให้ยิ่งใช้งานสะดวกมากขึ้นและใช้พื้นที่เซลล์น้อยลง
Row | Column | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
A | B | C | D | E | F | |
1 | 3 | 6 | 1 | 2 | 1 | 3 |
2 | 2 | 9 | 8 | 8 | 6 | 6 |
3 | 3 | 6 | 1 | 6 | 8 | 9 |
4 | 8 | 8 | 8 | 9 | 9 | 8 |
5 | 6 | 1 | 8 | 2 | 9 | 8 |
6 | ||||||
7 | Index_num | Answer | รูปแบบฟังก์ชันใน Answer | |||
8 | 1 | 22 | =SUM(CHOOSE(A8,A1:A5,B1:B5,C1:C5,D1:D5,E1:E5,F1:F5)) | |||
9 | 5 | 33 | =SUM(CHOOSE(A9,A1:A5,B1:B5,C1:C5,D1:D5,E1:E5,F1:F5)) | |||
เคยมีคนบอกว่าใช้ไฟล์งานไปสักพักใหญ่ๆ ทำไมไฟล์ Excel ช้าลงเรื่อยๆ โดยส่วนตัวถ้าใช้ไฟล์งานที่มีข้อมูลมากๆ สักพัก จะ Delete คอลัมน์และแถวที่ไม่ได้ใช้ เช่น ลบตั้งแต่คอลัมน์ที่ไม่ได้ใช้จนสุด XFD และ ลบแถวจนสุด 1048576 ซึ่งทำให้ไฟล์งานเล็กลง และประมวลผลเร็วขึ้น
สาเหตุอาจมาจากการที่ Insert แถว หรือ คอลัมน์ ทำให้พื้นที่เซลล์ที่ประมวลผลขยายออกไป ส่งผลให้ Excel ช้าลงได้ และ การรวมสูตรหลายๆ ชั้นในหนึ่งเซลล์ ไม่ได้ทำให้การประมวลผลช้าลง เพราะ Excel จะประมวลผลเฉพาะพื้นที่เซลล์ที่มีข้อมูล ไม่ว่าเป็นตัวเลข หรือ สูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น