Search

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลดภาษีด้วยการซื้อประกันชีวิต

กับคำถามที่ว่าการซื้อประกันชีวิตเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดใช่หรือไม่?
ถ้าให้ตอบตามความคิดส่วนตัว คือ ไม่ใช่เลย

เพราะอย่างไรก็ตาม ดอกผลที่ได้จากการประกันชีวิตไม่ได้สูงเลย เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นทุน โดยเฉพาะถ้าเป็นการลงทุนระยะยาว

แต่การประกันชีวิตมีคุณสมบัติหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นจุดขายกว่าการลงทุนอื่นๆ ตรงที่มีการคุ้มครองความเสี่ยง

ซึ่งถ้าผู้ซื้อประกันเกิดสิ่งไม่คาดฝันขึ้น ขณะที่ยังชำระค่างวดประกันไม่ครบ ทายาทที่อยู่ด้านหลัง ก็ยังได้รับเงินทุนประกันตามกรมธรรม์

และในขณะเดียวกันการซื้อประกันก็สามารถนำเบี้ยที่ชำระทุนประกันมาลดหย่อนภาษีในปีนั้นๆ ได้อีกด้วย

แบบประกันที่นำมาหักลดหย่อนภาษีได้มีอยู่ 2 แบบหลักๆ ซึ่งกฏหมายกำหนดไว้ไม่เท่ากัน

Must make it until payday-picture from pinterest.com
credit photo: pinterest.com
  • ประกันแบบสะสมทรัพย์ และอายุสัญญามากกว่า 10 ปี  กฏหมายอนุญาตให้หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท

    ลักษณะของการประกันแบบสะสมทรัพย์นั้น มีลักษณะคล้ายการฝากเงินกับธนาคาร แต่วัตถุประสงค์หลักของการประกันชีวิตยังคงเป็น การคุ้มครองชีวิต ดังนั้นหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นแก่ผู้เอาประกันจนถึงแก่ชีวิต คนข้างหลังจะได้รับเงินชดเชยและเงินปันผล

    สมมุติว่า นาย ก. ได้ซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ทุนประกัน 1,000,000 บาท และต่อมานาย ก. ได้เสียชีวิตโดยที่เบี้ยประกันจ่ายไปเพียง 1 ปี เท่านั้น ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินชดเชยจากทุนประกัน 1,000,000 บาท แต่ถ้า นาย ก. มีชีวิตครบสัญญา นาย ก. ก็จะได้รับเงินประกันคืนเต็มจำนวนพร้อมผลตอบแทนจำนวนหนึ่ง


  • ประกันประเภท บำนาญ กฏหมายอนุญาติให้หักได้ไม่เกิน 200,000 บาท

    ลักษณะของการประกันแบบบำนาญนั้นผู้ซื้อประกันจะต้องชำระค่าเบี้ยประกันจนครบอายุของผู้เอาประกัน ซึ่งอาจจะครบอายุ 55 หรือ 60 ปีแล้วแต่สัญญา  หลังจากนี้แล้วจะได้รับเงินเป็นงวดเท่าๆ กัน ไปจนกว่าจะครบอายุสัญญาหรือผู้เอาประกันเสียชีวิต

    หรือกรณีที่ผู้เอาประกัน เสียชีวิตก่อนครบครบอายุสัญญา ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์ จะได้ เงิน มูลค่าปัจจุบัน ของจำนวนเงินบำนาญ

    ประกันแบบบำนาญนี้เมื่ออายุของผู้เอาประกันครบ 55 หรือ 60 ปีแล้ว จึงจะได้เงินบำนาญ แต่ในช่วงรับเงินบำนาญจะไม่มีการคุ้มครองในส่วนของการเสียชีวิตอีก
หมายเหตุ: การซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษีนั้น เมื่อรวม 2 แบบแล้วต้องไม่เกิน 300,000 หัก เงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฏหมายกำหนด


Credit:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น